|
|
|
|
พระนพีสีพิศาลคุณ (ทองอินทร์ กุสลจิตฺโต)
(๒๔๗๑ ๒๕๔๗)
วัดสันติธรรม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
|
|
|
|
|
นามเดิม |
|
ทองอินทร์ แก้วตา |
|
|
เกิด |
|
วันจันทร์ที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ แรม ๘ ค่ำเดือน ๘ ปีมะโรง |
|
|
บ้านเกิด |
|
บ้านน้ำร้อน หมู่ ๗ ตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ |
|
|
บิดามารดา |
|
นายพรหมา และนางรินทร์ แก้วตา |
|
|
พี่น้อง |
|
รวม ๘ คน ท่านเป็นบุตรคนโต |
|
บรรพชา |
|
พ.ศ. ๒๔๘๘ อายุ ๑๘ ปี ณ วัดศิลามงคล บ้านหินฮาว ตำบลหินฮาว อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ |
|
|
|
มีพระอมราภิรักขิต (ทองดำ จนฺทูปโม) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ |
|
|
อุปสมบท |
|
วันศุกร์ที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. ปีชวด ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ตำบลพระสิงห์ |
|
|
|
|
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พระพุทธิโศภณ เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลขันติคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า กุสลจิตฺโต แปลว่าผู้มีจิตฉลาด |
|
|
เรื่องราวในชีวิต |
|
ท่านได้รับหนังสือชื่อว่า ไตรสรณคมณ์ แต่งโดยพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น |
|
|
|
ปญฺญาพโล เมื่อได้อ่านเนื้อความนั้นก็รู้สึกติดอกติดใจ ยิ่งอ่านก็ยิ่งเข้าใจหลักธรรม เมื่ออายุ ๑๗ ปี หลังการบรรพชาเสร็จได้จาริกขึ้นมาเชียงใหม่ และมาพำนักอยู่ที่สำนักสันติธรรม ได้ฟังธรรมะจากหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ก็เกิดศรัทธาอย่างยิ่ง ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของท่าน และไปสมัครเรียนนักธรรมตรีและบาลีไวยากรณ์ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแสวงหาที่ศึกษาพระปริยัติธรรม ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ที่สำนักปฏิบัติธรรมสันติธรรม หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ได้ให้การสนับสนุนโดยการจัดหาสิ่งของเป็นบริขาร ๘ ให้ท่านได้อุปสมบท
ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ อายุได้ ๒๖ ปี ได้ไปอยู่วัดศิลามงคล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ และสอบนักธรรมชั้นเอกได้ ต่อมาสอบเปรียญธรรม๓ ประโยคได้ โดยได้ไปสอบที่สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร จังหวัดพระนคร ต่อมาเมื่ออายุ ๒๘ ปี สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อายุได้ ๒๙ ปี ท่านยังอยู่ที่วัดศิลามงคลจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ศึกษากับหลวงปู่หลอด ปโมทิโต จากนั้นได้กลับมาหาหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ที่วัดสันติธรรม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อจากนั้นได้ออกเดินธุดงค์ ไปยังถ้ำผาจรุย อำเภอป่าแดด และถ้ำผาจม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ต่อมาหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ได้เขียนจดหมายบอกให้ท่านกลับมาอยู่วัดสันติธรรมได้แล้ว เนื่อจากขณะนั้น ไม่มีพระผู้เป็นหัวหน้า ท่านจึงได้กลับมาพัฒนาวัดสันติธรรม
ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ หลวงปู่สิมเกิดป่วยเป้นโรคไต และลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ต่อมาท่านจึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสันติธรรมแทน จากนั้นท่านก็ได้พัฒนาวัดสันติธรรมให้มีความสวยงามอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ท่านได้สร้างคุณประโยชน์มากมายในพระพุทธศาสนาพระนพีสีพิศาลคุณ ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีการเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีศีลาจารวัตรอันงดงาม รักษาข้อวัตรปฏิบัติ ดำเนินตามปฏิปทาของบูรพาจารย์ ใฝ่ใจในสัลเลขปฏิบัติ ของพระสมณะโคดมไว้อย่างมั่นคง สมเป็นพระเถระ ที่น่าเคารพและบูชาของชาวเชียงใหม่และพุทธศาสนิกชนทั่วไป
สมณศักดิ์
ปี พ.ศ. ๒๕๑๖อายุ ๔๕ ปี เป็นพระครูสันตยาธิคุณ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์
ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ อายุ ๕๕ ปีเป็นพระครูเจ้าคณะตำบล ชั้นโท นามเดิม และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ อายุ ๖๘ ปีเป็นพระครูเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก นามเดิม
ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ อายุ ๗๔ปีเป็นพระครูรักษาการเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน (ธรรมยุต) นามเดิม
วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ อายุ ๗๕ ปี เข้ารับพระบัญชาแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร
ในมหามงคลสมัพระราชพิธีเฉลิมพรชนมพรรษา วันศุกร์ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานเลื่อน และแต่งตั้งสมณศักดิ์ พระครูสันตยาธิคุณ เจ้าคณะธรรมยุต จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน-แม่ฮ่องสอน เจ้าอาวาสวัดสันติธรรม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ เปรียญ ราชทิน ที่ พระนพีสีพิศาลคุณ |
มรณภาพ |
|
วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เวลา ๑๕.๐๐ น. ด้วยโรคภาวะไตวายเรื้อรัง ณ |
|
|
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ รวมสิริอายุ ๗๖ ปี ๒ เดือน ๒๕ วัน |
ข้อมูลพิเศษ |
|
* เป็นศิษย์รูปแรกของหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร |
|
|
* หลังจากพระราชทานเพลิงศพแล้ว เมื่อคณะศิษย์เริ่มเก็บเศษอัฐิละเอียดที่ปนกับเถ้าอังคาร ก็ได้พบพระธาตุของท่านซึ่งมี พรรณะ สีบุษราคัม สีขาวดังสังข์ และสีเขียวเมฆหมอก เป็นต้น |
|
|
ธรรมโอวาท : |
|
...กำหนดพิจารณาให้รู้ว่า สิ่งไหนเกิด สิ่งไหนดับ เสร็จแล้วให้ใจนิ่งรู้อยู่ที่จุดตั้ง จากนั้นกำหนดรู้รูปกาย พิจารณารูปกาย ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จากนั้นจึงให้ใจมารู้อยู่ที่จุดตั้ง ให้กำหนดรู้ กำหนดพิจารณาขันธ์ ๕ กลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะรู้ตามความเป็นจริงแล้วปล่อยวางมีสติสัมปชัญญะอยู่ และรู้อยู่ที่ใจหรือใจมีสติสัมปชัญญะ เป็นเครื่องอยู่
...ให้ประคองจิตให้กำหนดรู้กาย คือประคองความรู้สึกมารครอบรู้ไว้ที่กาย ทำเหมือนเขาเอาสุ่มครอบไก่ แล้วกำหนดพิจารณากาย ตั้งแต่หัวถึงเท้า ว่ากายนี้มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ใจผู้ครองกายนี้ย่อมได้รับสุขรับทุกข์ไปตามเหตุ เพราะกายนี้มีความแก่ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา สุดท้ายย่อมแตกดับ ใจจะรักจะหวงแหนอย่างไร กายนี้ก็เป็นไปตามสภาพของมัน ใจที่ครองกายนี้มีแต่ทุกข์กับสุข สุดท้ายมีแต่ทุกข์เวทนาใจเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์...
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|